เกร็ดความรู้

1024 1024 admin csb

วิธีดูแลเสื้อสกรีน

– ซักเสื้อด้วยน้ำเย็น ๆ และไม่ใช้ผงซักฟอกที่มีส่วนผสมของโซเดียมไทโอลเสริม – หมั่นพับเสื้อสกรีนให้เรียบร้อย – หลีกเลี่ยงการเข้าร่วมกิจกรรมที่ส่งผลต่อเสื้อ เช่น กิจกรรมกลางแจ้ง – ไม่ควรใช้เตารีดในการรีดเสื้อสกรีนเพราะอาจทำให้ลายสกรีนเสียหายได้ – หากต้องการให้เสื้อสกรีนมีชีวิตชีวาในช่วงหน้าร้อน คุณสามารถแต่งตัวเสริมความสวยงามด้วยเสื้อหรือผ้าคลุมกันแดด

read more
1024 1024 admin csb

เนื้อผ้าระบายเหงื่อได้ดี ต้อนรับหน้าร้อน

– ผ้าแชมเบรย์ (Chambray) ผ้าแชมเบรย์เป็นผ้าที่มีที่มาจากประเทศฝรั่งเศส ปัจจุบันผ้าชนิดนี้เป็นเหมือนเดนิมประจำฤดูร้อน เนื้อผ้ามีสีฟ้าอมเทาซึ่งเป็นตัวแทนของ Blue Collar ส่วนใหญ่แล้วเนื้อผ้าชนิดนี้จะนิยมใช้ออกแบบเป็นเสื้อผ้าลำลอง โดยเฉพาะเสื้อเชิ้ตและกางเกงประเภทต่างๆ – ผ้าป็อปปลิน (Poplin) ผ้าชนิดนี้เป็นผ้าที่เหมาะแก่การออกแบบสำหรับใส่ทำงาน เพราะตัวเนื้อผ้ามีคุณสมบัติพิเศษที่สามารถคงความเนี้ยบได้มากกว่าเนื้อผ้าชนิดอื่น ทำให้เกิดรอยยับได้ยาก เหมาะกับการใส่ทำงานเพื่อรับมือกับหน้าร้อน เพราะตัวเนื้อผ้ามีคุณสมบัติที่ช่วยในเรื่องของการระบายอากาศได้ดี และยังมีความบางเบา สวมใส่สบาย -ผ้าฝ้าย Madras ผ้าลายตารางหลากสีสันเหมือนกันทั้งหน้าและหลังชนิดนี้มีต้นกำเนิดจากประเทศอินเดีย มีกรรมวิธีในการย้อมสีที่ทำให้ผ้าซีดจาง ดูมีลักษณะพิเศษเฉพาะตัว ผ้าชนิดนี้เป็นผ้าฝ้ายเนื้อบางเบาที่มีคุณสมบัติในการช่วยระบายความร้อนได้ดี สวมใส่สบาย – ผ้าฝ้าย Seersucker อากาศร้อนๆ แบบนี้ หลายคนมักเลือกสวมใส่เสื้อผ้าที่ทำจากผ้าฝ้าย Seersucker ผ้าลายคลื่นซัมเมอร์ที่กำลังได้รับความสนใจเป็นอย่างมากในปัจจุบัน ด้วยจุดเด่นของเนื้อผ้าที่มีรอยย่นทั่วพื้นผิว เกิดจากการทอเส้นใยเป็นก้อนเท่าปลายเข็ม และด้วยความบางของผ้าที่ช่วยระบายอากาศและช่วยส่งผ่านความร้อนได้ดี ทำให้สวมใส่สบาย ไม่จำเป็นต้องรีด สามารถใส่ได้ทั้งกับเสื้อเชิ้ต เสื้อนอก หรือกางเกงขาสั้น – ผ้าลินิน (Linen) ผ้าลินินเป็นผ้าที่มีรอยยับย่นเป็นธรรมชาติ มีทั้งแบบที่เป็นเนื้อหยาบและเนื้อละเอียด ตัวเนื้อผ้ามีเส้นใยที่เหนียว ดูดความชื้นและระบายความร้อนได้ดีกว่าผ้าฝ้าย จึงเป็นเนื้อผ้าที่เหมาะกับประเทศในเขตร้อนมากที่สุด สวมใส่สบาย ไม่อึดอัด มีความสวยงามเวลาสวมใส่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว

read more
1024 1024 admin csb

คุณสมบัติของผ้า Soft feel

ผ้า Soft feel เป็นผ้า คอตตอน (ผ้าฝ้าย) 100% เป็นผ้าที่มีราคาเริ่มต้นในเกรด COTTON คอตตอน เดียวกัน แต่คุณสมบัติไม่แพ้กันเลย เพราะ สวมใส่สบาย ระบายอากาศได้ดีเยี่ยม ใส่แล้วไม่ร้อน ระบายอากาศค่อนข้างดี ซึบซับเหงื่อได้ดี แต่ข้อเสียจะมีการหดตัวของผ้าไม่เกิน 5% เท่านั้น ผ้านี้เป็นผ้าที่มีความหนาระดับปานกลาง ไม่บาง ไม่หนา ผ้านี้ค่อนข้างเป็นทที่นิยมและยอมรับกันทั้งประเทศไทย และต่างชาติทั่วโลกเหมาะสมสำหรับการตัดเสื้อผ้าที่ดูมีสไตล์ และต้องการใส่แบบสบาย ได้หมดทุกประเภท

read more
1024 1024 admin csb

ข้อแนะนำสำหรับผู้ชอบใส่เสื้อผ้าสีดำในช่วงหน้าร้อน

เมื่อแสงแดดตกกระทบชุดสีดำจะทำให้เกิดความร้อนได้มากขึ้น ดังนั้นจะเกิดความเสี่ยงทางสุขภาพได้ในกรณีที่ไปออกแดดหรืออยู่กลางแจ้งเป็นเวลานาน (ไม่จำเป็นต้องโดดแดดตรง ๆ ท้องฟ้ามีเมฆก็ร้อนได้) ความเสี่ยงทีต้องระวังที่สุด คือภาวะลมแดด ซึ่งจะเป็นอันตรายถึงชีวิตได้หากไม่ระมัดระวัง จึงควรป้องกันไว้ล่วงหน้า – ใช้ร่มหรือหมวกบังเพิ่มเติม เพื่อให้แสงตกกระทบที่เสื้อผ้าลดลง จะได้ร้อนลดลง … – ดื่มน้ำเป็นระยะ ๆ อย่าปล่อยให้กระหายน้ำมากแล้วค่อยดื่ม แต่ให้ดื่มไปเลยเรื่อย ๆ – หากต้องสวมใส่ติดต่อกันนาน ๆ หรืออยู่ในกลางแจ้งนาน ๆ เลือกเสื้อผ้าที่โปร่งและลมพัดผ่านได้ เพื่อให้อุณหภูมิไม่สูงเกินไป – เสื้อสีดำมักเป็นชุดที่ไม่ได้ใช้บ่อย Size อาจจะเปลี่ยน … หากใส่แล้วคับเกินไป ก็ควรไม่ใส่ตัวนั้น เพราะการใส่เสื้อรัด ๆ จะทำให้เป็นลมง่ายขึ้น – ผู้สูงอายุ เด็ก ผู้ป่วยที่ต้องรับประทานยาความดันบางชนิด (ขับปัสสาวะ ยาลดการเต้นหัวใจ) ยาทางจิตเวช และยาแก้แพ้ จะเสี่ยงต่อการควบคุมอุณหภูมิของร่างกายไม่ดี ให้หลีกเลี่ยงการออกกลางแดด แล้วไปร่วมงานเฉพาะช่วงเย็นหรือกลางคืน

read more
1024 1024 admin csb

ขั้นตอนการสร้างแพทเทิร์นกระเป๋า

1. กำหนดรูปทรง โดยทั่วไปก่อนการร่างแพทเทิร์นกระเป๋านั้น จะต้องทำการกำหนดรูปทรงให้ชัดเจนเสียก่อน ในฐานะมือใหม่ อาจจะเริ่มจากทรงง่าย ๆ อย่างกระเป๋าผ้าสี่เหลี่ยม ก็จะช่วยให้การตัดเย็บนั้นไม่ยากจนเกินไป 2. คำนวณขนาด ขนาดที่เท่ากันในทุก ๆ ด้านจะช่วยลดขั้นตอนความยากในการทาบวางแพทเทิร์นกระเป๋าลงบนผ้า เนื่องจากขนาดเท่ากันของแพทเทิร์น จึงทำให้สามารถตัดผ้าพร้อมกันสองชิ้นได้ในคราวเดียว 3. ร่างแบบ ใช้ไม้บรรทัดและกระดาษ A4 ง่าย ๆ ในการร่างแบบที่เราต้องการ และขนาดที่กำหนดลงบนกระดาษสร้างแบบ โดยต้องวาดกำหนดขนาดทั้งส่วนด้านหน้า และด้านหลังกระเป๋า ตัวข้างกระเป๋า และก้นกระเป๋า

read more
593 591 admin csb

แบบกระเป๋าผ้าทรงต่างๆ

  – กระเป๋าผ้าทรงสะพายหลัง ถือว่าเป็นหนึ่งในแบบกระเป๋ายอดนิยม และมีความสะดวกสบายในการใช้งานช่วยให้คล่องตัว – กระเป๋าผ้าทรงหูรูด มักมีลักษณะขนาดเล็กไปจนถึงขนาดกลาง เป็นทรงกระเป๋าที่พกพาง่าย – กระเป๋าผ้าทรงกระเป๋าคลัทช์ ทรงนี้จะหญิงถือก็ได้ ชายถือก็ดูหล่อเท่หล่อเท่ เพราะด้วยแพทเทิร์นกระเป๋าถุงผ้าง่ายๆ ที่มีความ Unisex ค่อนข้างสูงทำให้ผู้ถือดูมีความชิค และ Instagramable – กระเป๋าผ้าทรงสะพายข้าง เรามักพบเห็นกระเป๋าทรงสะพายข้างทั้งแบบกระเป๋าผ้าเย็บมือและแบบสำเร็จรูป แต่ไม่ว่าจะแบบไหนก็ดูสวยคนละแบบอยู่ดี เพราะทรงนี้เน้นการใช้งานเป็นหลัก – กระเป๋าผ้าทรงหูหิ้ว ทรงนี้ก็ฮิตในหมู่สาว ๆ วัยมหาลัยเป็นอย่างมาก เพราะความดูสวยมีสไตล์

read more
1024 1024 admin csb

ยีนส์คุณภาพจากสัญชาติญี่ปุ่น

ช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ประเทศญี่ปุ่นเริ่มนำเข้าและวางจำหน่ายกางเกงยีนส์ และในเวลาเพียงไม่นาน กางเกงยีนส์ก็กลายเป็นเครื่องสวมใส่ที่ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว จนเกิดโรงงานผลิตกางเกงยีนส์ภายในประเทศขึ้นตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา กางเกงยีนส์สัญชาติญี่ปุ่นที่ผสมผสานกับเทคนิคและวัฒนธรรมญี่ปุ่นดั้งเดิม กลายเป็นที่จับตามองของเหล่าแฟชั่นนิสต้าจากทั่วโลกมากขึ้น โดยสิ่งที่ทำให้กางเกงยีนส์ที่ผลิตในญี่ปุ่นมีเนื้อผ้าที่อ่อนนุ่มและดูดีมีมิตินั้น ส่วนใหญ่มาจากเทคนิคการทอผ้าโดยใช้เครื่องจักรแบบดั้งเดิม นอกจากนี้ ยังมีจุดเด่นที่การเย็บริมกางเกง (ริมแดง) ซ่อนไว้ที่ด้านหลังของผ้าเพื่อป้องกันการหลุดลุ่ยอีกด้วย แบรนด์กางเกงยีนส์คุณภาพสัญชาติญี่ปุ่น ที่น่าติดตามมี BLUE BLUE, WHOOPER, RESOLUTE, SERGE de bleu และ HOSU ค่ะ

read more
644 650 admin csb

เทรนด์สีประจำปี 2023 (Color Trend)

สีเหลืองอ่อน Elfin Yellow 11-0620 tcx – สีส้มแอปริคอต Golden Apricot 14-1041 tcx – สีเขียวมะนาว Lime Green 14-0452 tcx – สีเขียวอมฟ้า Deep Lake 18-4834 tcx – สีแดงก่ำ Scarlet Sage 19-1559 tcx – สีม่วงเข้ม Phlox 19-2820 tcx – สีดำเทา Moonless Night 19-4203 tcx –

read more
649 646 admin csb

วิธีรีดเสื้อเชิ๊ต

1. ปลดกระดุมเสื้อเชิ้ต ขั้นตอนแรกให้ปลดกระดุมเสื้อเชิ้ต โดยนำด้านหลังวางบนที่รองรีด ให้แขนเสื้อเชิ้ตห้อยลงไปที่บริเวณด้านข้างที่รองรีด จากนั้นให้รีดจากบริเวณตรงกลางเสื้อไปยังด้านข้าง 2. วางด้านหน้าของเสื้อเชิ้ตข้างใดข้างหนึ่งบนที่รองรีด ขั้นตอนต่อไปให้วางด้านหน้าของเสื้อเชิ้ตไว้บนโต๊ะรองรีด แล้วรีดให้ทั่วทั้งตัว โดยแทรกหน้าเตารีดไปตามซอกของกระดุม พร้อมกดน้ำหนักของเตารีดมากกว่าบริเวณอื่น เนื่องจากสาบเสื้อเชิ้ตประกอบด้วยผ้า 2- 3 ชั้น อาจเรียบได้ยากกว่าจุดอื่น และช่วยเรื่องการรีดผ้าไม่ให้คืนตัว 3. รีดแขนเสื้อ ให้รีดบริเวณแขนเสื้อทีละข้าง โดยหันตะเข็บเท้ามาหาตัวเรา และวางพาดไปตามยาวของโต๊ะรองรีด พร้อมใช้มือจับแขนเสื้อไปในขณะที่รีด และพยายามดึงผ้าให้ตึง 4. รีดข้อมือเสื้อ ให้รีดบริเวณข้อมือเสื้อทางที่ไม่มีกระดุม จากนั้นจึงพลิกมารีดด้านที่มีกระดุม โดยแหวกข้อมือด้านที่มีกระดุมพร้อมทั้งรีดจากด้านในตัวเสื้อ กดเตารีดไปตามรอยจีบของเสื้อเชิ้ต แล้วรีดซ้ำด้านนอก

read more
645 642 admin csb

วิธีง่ายกำจัดเชื้อราง่ายๆด้วย วัตถุดิบจากในครัว

1. นมเปรี้ยว เนื่องจากนมเปรี้ยวมีความเป็นกรด ที่สามารถช่วยกำจัดเชื้อราบนเสื้อผ้าได้ ซึ่งวิธีการก็ไม่ยาก แค่ถูนมเปรี้ยวลงบนคราบ แล้วทิ้งไว้ 1 คืน หรือเอาไปตากแดดจนเสื้อผ้าแห้งสนิท เสร็จแล้วค่อยนำกลับมาซัก 2.น้ำร้อน เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยกำจัดเชื้อราบนเสื้อผ้าได้แบบง่าย ๆ เพียงแค่เรานำเสื้อผ้าที่มีเชื้อราไปซักในน้ำร้อน เสร็จแล้วก็นำไปตากให้แห้ง แต่มีข้อแม้คือไม่ควรซักรวมกับเสื้อผ้าตัวอื่น ๆ เด็ดขาด เพราะจะทำให้เชื้อรายิ่งแพร่กระจายไปสู่เสื้อผ้าตัวอื่นนั่นเอง 3.น้ำมะนาว มีฤทธิ์เป็นกรดเช่นเดียวกับนมเปรี้ยว วิธีการซักก็คล้าย ๆ กันเลย โดยเทน้ำมะนาวลงบนคราบ ทิ้งไว้สักพัก จากนั้นก็นำไปตากแดดให้แห้ง แล้วค่อยเอากลับมาซักด้วยผงซักฟอกอีกครั้ง 4.น้ำสมสายชู นอกจากจะกำจัดเชื้อราได้แล้ว ยังซักกลิ่นเหม็นอับออกได้ด้วย ซึ่งขั้นตอนนั้นก็เริ่มจากผสมน้ำส้มสายชู ประมาณ 1-2 ถ้วยตวง เข้ากับน้ำยาซักผ้าหรือผงซักฟอก เสร็จแล้วก็นำไปซักและตากให้แห้ง แต่ถ้าหากคราบราฝังแน่นเป็นวงกว้าง แนะนำให้แช่ผ้าทิ้งไว้ในน้ำส้มสายชูอย่างน้อย 1 ชั่วโมง ก่อนซัก 5.เบกกิ้งโซดา ก่อนจะลงมือซัก อย่าลืมแยกผ้าขาวออกจากผ้าสีซะก่อน หลังจากนั้นก็ใส่ผงซักฟอกพร้อมเบกกิ้งโซดาใช้ประมาณ ½ ช้อนโต๊ะ ลงในเครื่องซักผ้าแล้วซักด้วยน้ำร้อน 6.น้ำยาฟอกขาว ซักด้วยน้ำยาฟอกขาวผสมกับน้ำยาซักผ้าหรือผงซักฟอก แต่สำหรับเสื้อผ้าที่มีราขึ้นเยอะ แนะนำให้แช่ผ้าในน้ำยาฟอกขาวผสมน้ำเปล่าก่อน ในอัตราส่วนน้ำยาฟอกขาว ½ ถ้วยตวง ต่อน้ำ…

read more